135
สร้างสายสัมพันธ์ลูกด้วยความรัก ไม่ใช่ความกลัว

สร้างสายสัมพันธ์ลูกด้วยความรัก ไม่ใช่ความกลัว

โพสต์เมื่อวันที่ : June 13, 2023

 

“It is better to bind your children to you by a feeling of respect and by gentleness than by fear” “จะเป็นการดีกว่าที่จะสร้างสายใยผูกพันกับลูก ๆ ไว้กับเราด้วยความรู้สึกเคารพและความอ่อนโยน มากกว่าความกลัว” - Terence 

 

เพราะการสอนลูกด้วยความรักสามารถนำไปสู่ความเคารพ ซึ่งความเคารพนำไปสู่ความเกรงใจ ลูกจะทำสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เพราะเขารักเรา ไม่ใช่เพราะเขากลัวเรา ผู้ใหญ่บางคนอาจจะใช่การขู่เพื่อให้เด็กกลัว หรือลงโทษรุนแรง เพื่อให้เด็กหยุดทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำตาม ที่เราบอก

 

ทั้งนี้แม้เจตนาของผู้ใหญ่จะเต็มไปด้วยความปรารถนาดีแต่ผลลัพธ์อาจจะออกมาตรงกันข้าม ธรรมชาติของสมองเรา เมื่อมีคนมาทำให้เรากลัว สมองจะตอบสนองโดยใช้สมองส่วนสัญชาตญาณ ซึ่งจะตอบ สนองว่า “ให้สู้ (Fight)” “ให้หนี (Flight)” หรือ “นิ่ง (Freeze)” 

 

 

ซึ่งการตอบสนองแต่ละแบบไม่ได้ทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยเหตุผล แต่เรียนรู้ด้วยความกลัวและต้องรีบเอาตัวรอด ซึ่งวิธี การเอาตัวรอดของเด็กมักจะปรากฎอยู่ในรูปแบบของ “การพูดโกหก” หรือ “การโยนความผิดให้คนอื่น” เพื่อเอาตัว รอดได้ 

 

ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่ขู่ให้เด็กกลัวหรือใช้ความรุนแรงในการลงโทษเด็ก เด็กอาจจะหยุดทำพฤติกรรมทันทีแต่เป็นการ หยุดจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว เพราะเด็กอาจจะตกใจหรือกลัวจึงไม่ทำพฤติกรรมนั้นต่อ แต่ถ้าไม่มีผู้ใหญ่คนนั้น หรือ ในวันที่เขาโตพอจะไม่กลัวคำขู่นั้นอีกต่อไป เขาอาจจะทำพฤติกรรมนั้นอีก และอาจจะทำพฤติกรรมที่รุนแรงข้ึนไป อีก 

 

เด็กบางคนอาจจะกลัวการไปหาหมอ กลัวที่แคบ กลัวความมืด กลัวสารพัดจะกลัว เพียงเพราะคำพูดขู่จากผู้ใหญ่ บางคนที่ไม่ได้มีเจตนาร้าย อาจจะทำให้เขากลัวและวิตกกังวลจนเกินเหตุ ซึ่งความกลัวที่ฝังใจที่ส่งผลต่อจิตใจเด็กที่สุด คือ “ความกลัวว่าพ่อแม่ไม่รักตัวเขา” เพราะการขู่ที่ใช้ความรักมาเป็น เงื่อนไขให้เขาทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่อยากให้เขาทำซึ่งเมื่อใช้บ่อย ๆ เข้าเด็กอาจจะเรียนรู้ว่า “ความรักที่แม่มีแต่เขานั้นมี เงื่อนไข” ถ้าเขาต้องการเป็นที่รัก ก็ต้องทำในส่ิงที่แม่ต้องการให้ได้ถ้าทำไม่ได้แม่อาจจะไม่รักเขา ดังนั้น ผู้ใหญ่ทุกคนควรหยุดใช้การขู่

 

 

“การขู่” กับ “การบอกเหตุผล” นั้นแตกต่างกัน “การขู่” คือตั้งใจทำให้กลัวเกินจริง และสิ่งที่บอกนั้นเกินจากหลักความเป็นจริงไปมาก “การบอกเหตุผล” คือการบอกความจริงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเขาทำหรือไม่ทำ 

 

 

 

แนวทางในการสอนเด็ก ๆ เมื่อเขาทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม

  • ขั้นที่ 1 รอให้เด็กสงบ อย่าเพิ่งสอนสั่งอะไรเด็กเวลาที่เขาอาละวาด นั่งลงข้าง ๆ เขา 
  • ขั้นที่ 2 สงบแล้วจึงหันไปมองหน้าเขา บอกเขาชัดเจนว่า ไม่ควรทำอะไร และเขาควรทำอะไร เพราะอะไร
  • ขั้นที่ 3 ถ้าเขาทำไม่เหมาะสม สอนเขาให้ขอโทษ และรับผิดชอบต่อการกระทำเสมอ 

 

ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม เด็กจะเรียนรู้จากการทำสม่ำเสมอไม่ใช่จากเหตุการณ์ครั้งเดียว เพราะ สมองเหตุผลจะถูกพัฒนาได้เมื่อเด็กสงบเพียงพอที่เราจะพูดให้เขาฟัง และเขาได้ยินเสียงเรา ผู้ใหญ่ไม่มีความจะเป็นต้องไปตะเบ็งเสียงแข่งกับเด็กเลย รอเขาสงบ แล้วพูดเมื่อเขาหยุดอาละวาด เขาจะได้ยินเสียงเรา ชัดเจน

 

เมื่อได้ยินเสียง สมองจะประมวลเสียง และคิดตาม เมื่อนั้นสมองส่วนเหตุผลจึงจะได้รับการกระตุ้น และใช้ งาน “เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมรุนแรง ผู้ใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องสู้กับเขา เราควรสงบมั่นคง ไม่หวั่นไหว ยืนหยัดในสิ่ง ที่ต้องการจะสอนเขา” 

 

 

วิธีการที่ดีกว่าสำหรับการสอนเด็ก

🔻 (1) การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เพราะความรักที่เรามีให้เขาทำให้เขารักตัวเขาเองและคนที่รักเขา ซึ่งทำให้เขาฟังในสิ่งที่เราสอน เพราะเขารักเรา ไม่ใช่เพราะเขากลัวเรา และเมื่อเด็กรักตัวเขาเองและรักผู้อื่นเป็น เขาจะอยากทำสิ่งที่ดีงามมากกว่าสิ่งที่ไม่เหมาะสม 

 

🔻 (2) การสอนด้วยความมั่นคงอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการพูดคำไหนคำนั้น พูดความจริง และรักษาสัญญาเสมอ 

 

🔻 (3) การเป็นตัวอย่างที่ดี การเป็นตัวอย่างให้เด็ก ผ่านการทำให้เห็น และเป็นให้เขาดู เด็กจะเรียนรู้ที่จะทำเช่นเดียวกับสิ่งที่เราทำ

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง