“ตารางเวลา" ตัวช่วยในการสร้างวินัยของคนทั้งบ้าน
บ้านที่ขาดวินัยอาจเป็นต้นตอปัญหาความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
เด็กที่ความสุขอย่างแท้จริง คือ เด็กที่แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางผู้อื่น เขาสามารถเป็นตัวเองได้โดยไม่ทำให้ตัวเขาหรือใครเดือดร้อน และเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ด้วยเหตุนี้ “ความสุขที่ยั่งยืน” ที่พ่อแม่สามารถมอบให้กับลูกต้องไม่เกิดจากการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเกิดอารมณ์ทางลบ หรือการปกป้องเขาจากความทุกข์ เช่น...
เพราะในวันที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ตรงนั้นกับเขา ไม่มีใครปกป้องหรือทำทุกสิ่งให้ ลูกจะพบกับความยากลำบากในการเผชิญปัญหาและการสร้างความสุขด้วยตัวเขาเอง ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ “การสอน” ให้เขาได้เรียนรู้และรับมือกับปัญหา “การเคียงข้าง” ในวันที่เขารู้สึกแย่ และ “การเชื่อมั่น” ให้เขาลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง
การอนุญาตให้แสดงออกทางความรู้สึกอย่างเหมาะสม เวลาเด็ก ๆ มีความสุข ดีใจ ชอบใจ สนุกสนาน ใบหน้าของพวกเขาอาจจะมีรอยยิ้มกว้าง พวกเขาอาจจะหัวเราะอย่างเบิกบานใจ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มองพฤติกรรมที่เด็ก ๆ แสดงออกมาเหล่านี้เป็นเรื่องปกติและยอมรับได้
ในทางกลับกัน เวลาที่เด็ก ๆ มีความทุข์ใจ ความเศร้า โกรธ ไม่พอใจ กลัว ใบหน้าของพวกเขาอาจจะเปลี่ยนเป็นบูดบึ้ง คิ้วขมวด พวกเขาอาจจะโวยวาย ร้องไห้เงียบ ๆ ไปจนถึงร้องไห้โวยวายเสียงดัง ผู้ใหญ่กลับมองว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี และเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
...“ผู้ใหญ่ควรอนุญาตให้เด็ก ๆ แสดงออกถึงความรู้สึก แต่สิ่งที่เราไม่ควรอนุญาตให้เด็ก ๆ ทำ คือ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม"...
ก่อนอื่นผู้ใหญ่ควรทำความเข้าใจว่า เมื่อเด็กเกิด ‘ความรู้สึก’ เราควรอนุญาตให้เขารู้สึก และแสดงออกถึงความรู้สึกนั้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ดีหรือไม่ดีก็ตาม เพราะถ้าหากเราบอกว่า “ห้ามลูกแสดงความรู้สึกโกรธนะ” แล้วเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง ? นอกจากเก็บกดความรู้สึกนั้นลงไปรอวันระเบิด ความรู้สึกหากไม่แสดงออกมา มันก็ไม่หายไปไหน
เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ คือเหมือนเราบอกลูกว่า “ให้ลูกกลืนลูกไฟนั้นลงไปนะ อย่าปล่อยมันออกมา" ลูกไฟที่ลูกกลืนเข้าไปก็จะไปแผดเผาลูกจากข้างใจ ไม่ต่างอะไรกับการบอกให้ลูกทำร้ายตัวเขาเองเลย ดังนั้นการแสดงออกถึงความรู้สึกนั้น เราควรอนุญาตเขาแต่ลูกต้องเรียนรู้ที่แสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น ในมุมสงบที่ตกลงกันไว้ หรือการพูดคุยระบายให้เราฟัง ในทางกลับกันสิ่งที่เราไม่อนุญาตให้ลูกทำ คือ ‘พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม’ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้น ได้แก่ พฤติกรรมที่อาจจะทำให้ตัวเขาและผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การทำผิดกฎ 3 ข้อ (ไม่ทำร้ายตนเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่ทำลายข้าวของ)
"เด็กที่เติบโตมาอย่างมีความสุข ไม่ได้แปลว่า ผู้ใหญ่ต้องมอบแต่ความสุขให้กับเขา"
โดยที่เขาไม่ต้องเผชิญความทุกข์ใด ๆ เลยนั้นผิดมหันต์ ในความเป็นจริงเด็กที่มีความสุข คือ เด็กที่สามารถเผชิญปัญหาและสามารถจัดการกับ อารมณ์ต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีได้อย่างเหมาะสมต่างหาก ดังนั้นผู้ใหญ่ควรสอนให้เขาให้รับมือกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ห้ามไม่ให้เขาแสดงออกถึงความรู้สึก หรือ เร่งรัดให้เขา หายจากอารมณ์ทางลบเร็ว ๆ
บางครั้งในวันที่เรารู้สึกแย่ เราอาจจะอยากได้เพียงใครสักคนที่ไม่ตัดสินเรามาเคียงข้าง เด็ก ๆ ก็เช่นกัน ในวันที่เขารู้สึกไม่ดี เขาอาจจะต้องการการโอบกอดและการเคียงข้าง จากพ่อแม่ที่เขารัก