258
โลกโหดร้ายขึ้นทุกวัน Growth Mindset นั้นสำคัญไฉน ?

โลกโหดร้ายขึ้นทุกวัน Growth Mindset นั้นสำคัญไฉน ?

โพสต์เมื่อวันที่ : October 4, 2023

 

โลกของเราหมุนเร็วกว่าที่เราคิด เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และการพัฒนาที่เกิด ขึ้นในทุก ๆ ด้านอย่างรวดเร็ว

 

ด้วยเหตุนี้เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาพร้อมกับโลกปัจจุบันนี้ เขาควรมีกระบวนการคิดที่เติบโตได้และมีความคิดยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

นักจิตวิทยา Carol Dweck ได้ทำการศึกษาเรื่อง “กระบวนการคิดของมนุษย์” ซึ่งจากการศึกษาและวิจัยทำให้เขาได้จำแนกกระบวนการคิดออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ กระบวนการคิดแบบยึดติด Fixed Mindset และกระบวนการคิดแบบเติบโตได้ Growth Mindset ซึ่งกระบวนการคิดแบบนี้ส่งผลคนเราคิด ตัดสินใจ และกระทำแตกต่างกัน

 

  • เด็กที่มีกระบวนการคิดแบบยึดติด (Fixed Mindset) กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้จะเชื่อว่าตนเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ ทุก ๆ อย่างที่เขาทำได้สำเร็จไม่ได้เกิดจากความสามารถของตนเอง แต่เกิดจากความช่วยเหลือของผู้อื่นหรือสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเขา เช่น โชคหรือดวงชะตา

 

  • เด็กที่มีกระบวนการคิดแบบเติบโตได้ (Growth mindset) กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้จะเชื่อว่าตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ และตนเองเป็นผู้ควบคุมชีวิตของตัวเอง ทุกสิ่งที่เขาทำได้สำเร็จเกิด จากความพยายามและความตั้งใจของตนเอง

 

 

สร้างเด็กที่มีความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)

 

1. ใช้คำถามปลายเปิดมากกว่าคำถามปลายปิดและใช้คำถามมากว่าคำสั่ง

คำถามปลายเปิดจะทำให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสคิดและแสดงความเป็นตัวเองได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ เลือกและตัดสินใจตัวเขาเอง เด็กจะมีแนวโน้มรับผิดชอบต่อสิ่งที่เลือกมากกว่าการถูกสั่งให้ทำ

 

 

2. ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และความพยายามมากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมา

และยอมรับว่า ทุกการเรียนรู้และลงมือทำย่อมเกิดความผิดพลาดได้เสมอ ทุกการลงมือ ไม่ว่าผลงานที่ออกมาจะดีหรือไม่ก็ตาม เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้เสมอ และทุกความพยายาม มีค่ามากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมานัก เพราะผลลัพธ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้

 

"การเรียนรู้และลงมือทำ" กับ "การทำผิดพลาด" เป็นของคู่กัน ไม่มีใครที่ลงมือทำโดยปราศจาการทำผิดพลาดเลย ขอแค่เพียงเรานำข้อผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน เพื่อครั้งหน้าเราจะได้ไม่ทำผิดพลาดเช่นเดิมอีก

 

 

3. เวลาที่เด็ก ๆ ทำผิดให้ตำหนิที่ ‘พฤติกรรมที่เขาทำ’ ไม่ใช่ ‘ตัวตนที่เขาเป็น’

บางวันเด็กอาจจะทำพฤติกรรมที่แย่มาก ๆ เราควรตำหนิเขาที่พฤติกรรม ไม่ใช่การว่าแบบเหมารวมตัว ตนของเขา เพราะพฤติกรรม คือ สิ่งที่เด็กสามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่ตัวตนของเขา เป็นสิ่งที่ค่อนข้างคงทนและเปลี่ยนแปลงได้ยาก

 

ดังนั้นการตำหนิที่พฤติกรรมจะนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการตำหนิที่ตัวตนของเขา เมื่อเด็ก ๆ ทำผิด ผู้ใหญ่ควรสอนให้พวกเขารับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเสมอ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้ว่า นี่คือการตัดสินใจของพวกเขาเอง และตัวเขาเองสามารถรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้

 

หากเด็กยังไม่มีประสบการณ์ และไม่รู้ว่าต้องรับผิดชอบอย่างไร ผู้ใหญ่สามารถลงไปสอนเขาได้ แต่ไม่ใช่ แก้ปัญหาหรือทำให้ทันที ที่สำคัญผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็ก ๆ รู้ว่า ‘ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ไม่เป็นไรที่จะทำผิดพลาด แต่ต้อง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเสมอ’

 

 

4. ให้การชื่นชมมากกว่าการตำหนิ

เมื่อเด็ก ๆ ทำได้ดี ให้ผู้ใหญ่ชื่นชมพวกเขาที่การกระทำ เพื่อให้เด็ก ๆ มองเห็นสิ่งดี ๆ ที่พวกเขาสามารถ ทำได้ “ชมที่พฤติกรรม เช่นเดียวกันตำหนิก็ตำหนิที่พฤติกรรม ไม่ใช่ตัวที่เด็กเป็น"

 

 

5. ไม่เปรียบเทียบตนเองกับใคร (ยกเว้นตนเองในอดีต)

ผู้ใหญ่ไม่ควรเปรียบเทียบเด็กกับใคร และควรสอนให้เด็ก ๆ ไม่เปรียบเทียบตัวเขากับคนอื่นเช่นกัน ถ้าหากเด็ก ๆ ต้องการรู้ว่า ตนเองอยู่จุดไหนแล้ว การเปรียบเทียบที่ดีที่สุด คือ เปรียบเทียบตัวเองในวันนี้กับตัวเองในวันวาน เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาได้ สิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่ควรตระหนักเสมอ เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน

 

 

ซึ่งทำให้พวกเขามีวิธีการเรียนรู้ที่อาจจะแตกต่างกันไปด้วย” ผู้ใหญ่มีหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก ๆ ว่า “พวกเขามีศักยภาพและพวกเขาสามารถเรียนรู้ได้” ไม่ใช่การสร้างทัศนคติทางลบต่อการเรียนรู้ และที่เลวร้ายที่สุด คือ ทัศนคติทางลบต่อตัวเอง เช่น “ฉัน มันไม่ได้เรื่อง” “ฉันทำมันไม่ได้หรอก” และ “ทำอย่างไรก็ไม่ดีพอ”

 

หัวใจสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน คือ “การเรียนรู้อยู่เสมอ” “ลงมือทำ” “ไม่กลัวที่จะทำผิดพลาด” และสุดท้าย “เรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อพัฒนาและเติบโตต่อไป”

 

อ้างอิง Claro, S, Paunesku, D, & Dweck, C S (2016) Growth mindset tempers the effects of poverty on academic achievement Proceedings of the National Academy of Sciences, 113(31), 8664-8668

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง