70
วิธีการดูแลจิตใจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง

วิธีการดูแลจิตใจเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง

โพสต์เมื่อวันที่ : January 31, 2024

 

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการดูแลจิตใจเด็กและเยาวชนเมื่อผ่านเหตุการณ์รุนแรง โดยเด็ก คือ กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต เพราะเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงน้อย จะรู้สึกว่าตนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ บวกกับไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก 

 

 

ผลกระทบที่มีต่อ “เด็ก” 

  • ปัญหาสุขภาพจิต ซึมเศร้า วิตกกังวล ตกใจง่าย ฝันร้าย 
  • ปัญหาพัฒนาการหยุดชะงัก ฉี่รดที่นอน 
  • ปัญหาการเรียน สมาธิแย่ลง หนีเรียน การเรียนตก 
  • ปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว เก็บตัว เชื่องซึม 

 

พ่อแม่จะต้องทำอย่างไร ? ถ้าลูกผ่านประสบการณ์ความรุนแรง 

  • ให้เด็กได้เล่าและพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป กระตุ้นให้เด็กได้แบ่งปันความคิดและถามคำถามต่าง ๆ “ถ้าเด็กต้องการเล่าโดยอย่าบังคับ”
  • ให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สงบ เชื่อมต่อ และรู้สึกมีความหวัง
  • ลดการดูสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
  • เมื่อเด็กพร้อมควรกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้บ้าง เช่น เป็นอาสาสมัครในการสร้างชุมชนปลอดภัย แต่ควรงดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุ

 

 

หากพบความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมในเด็ก ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือ ตรวจสุขภาพใจกับ MENTAL HEALTH CHECK-IN / โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง