
อย่าปล่อยให้เด็กเป็น 'รถเบรกแตก'
ปัจจุบันนี้มีสถาบันเสริมทักษะการเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากมาย
ร่างกาย แขนขา นิ้วมือ สมอง เติบโตเงียบ ๆ แต่เพียงพริบตาเดียวเด็ก ๆ ก็โตมากขึ้นแล้ว ดังนั้นวัยนี้จึงเต็มไปด้วยพลังงานที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว และเรียนรู้ เด็กบางคนมีพลังงานมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ ทำให้ไม่อาจหยุดนิ่ง อยากทำสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา
แม้จะเป็นเรื่องดีที่เด็ก ๆ กระตือรือร้นและเต็มไปด้วยพลัง แต่ถ้าหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็อาจจะเกิดผลเสียตามมาได้ เช่น วิ่งเร็วจนขาดการระมัดระวัง ชนคน ชนสิ่งของ จนทำให้ตัวเองและผู้อื่นบาดเจ็บ และข้าวของเสียหาย หรือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว แต่ขาดความรอบคอบ ทำให้ทำผิด ทำพลาด และต้องทำใหม่ กลายเป็นจากทำเร็ว ต้องทำใหม่และเสียเวลามากกว่าเดิม
เด็กที่พลังเยอะแตกต่างจากเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น
❶. เด็กซนตามวัย : แต่ไม่ซนในทุกที่ทุกสถานการณ์ เมื่อถูกห้ามหรือสอนอย่างเหมาะสมจะสามารถหยุดพฤติกรรมได้
❷. เมื่อถึงวัยเรียนรู้ : เริ่มเข้าโรงเรียน เด็กสามารถจดจ่อได้เมื่อต้องเรียนรู้ และสามารถทำงานได้สำเร็จ
❸. เมื่อต้องตัดสินใจหรือทำสิ่งสำคัญ : เด็กจะไม่มุทะลุ หุนหันพลันแล่น สามารถหยุดและคิด ระวัง ก่อนจะตัดสินใจหรือทำสิ่งนั้น
(หากมีข้อสงสัยว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อได้รับคำแนะนำหรือคำวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป)
❶. มีกติกาและตารางเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้วินัยเป็นโครงสร้างที่ช่วยจัดระเบียบความคิดที่ดี เด็กที่ทำตามกติกาและตารางเวลาได้ จะมีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจที่ดี ทำให้ตัวเองที่รวดเร็ว แต่หยุดตัวเองเป็นเมื่อถึงคราวจำเป็น เหมือนรถที่มีเบรกนั่นเอง
นอกจากนี้เวลาไปที่ใด ทำกิจกรรมอะไร เล่นเกม เล่นกีฬา เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้ที่จะเคารพกติกาเหล่านั้นเช่นกัน เช่น ถ้ามีคิวต้องต่อคิวเพื่อซื้อของหรือเล่นสิ่งใด ถ้าเล่นเกมต้องไม่ข้ามตาคนอื่น ถ้าไปกินข้าวที่ร้านอาหารก็ไม่วิ่งเล่น นั่งที่โต๊ะกินอาหารดี ๆ
❷.ให้เด็ก ๆ ได้เล่นและเคลื่อนไหวอย่างอิสระ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ปล่อยพลังที่มีอย่างเหมาะสมและรับสัมผัสสิ่งใหม่ ๆ (Sensory) โดยเราอาจจะพาเด็ก ๆ ไปเล่นที่สวนสาธารณะ ไปวิ่งเล่นที่สนาม ไปเล่นกีฬาที่เด็ก ๆ สนใจ หรือ ชวนไปเที่ยวข้างนอกบ้างเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ ปรับตัวอย่างเหมาะสม
ในความเป็นจริงแล้วเด็กเล็กจำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกาย จนหัวเปียกชุ่มด้วยเหงื่ออย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยอาจจะแบ่งช่วงเวลาเล่นเป็น 30 - 60 นาทีช่วงเช้า 30 - 60 นาทีช่วงบ่าย และ 30 - 60 นาทีช่วงเย็นก็ได้
❸. ฝึกทำกิจกรรมที่ต้องระมัดระวัง หรือ มีความท้าทาย เมื่อเด็ก ๆ ต้องทำกิจกรรมที่ต้องระมัดระวังและท้าทาย เด็ก ๆ จะช้าลงโดยธรรมชาติ เช่น
❹. เมื่อเด็ก ๆ ทำผิดพลาดหรือทำไม่เหมาะสมให้เขารับผิดชอบต่อการกระทำเสมอ ถ้าเด็ก ๆ ทำผิดพลาด จากการทำอะไรรวดเร็วจนไม่รอบคอบ ไม่ระวัง สอนให้เขารับผิดชอบต่อสิ่งนั้น เช่น
❺.ให้เขาลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายอยู่เสมอ เด็กที่เต็มไปด้วยพลัง เป็นข้อดีที่ควรรักษาให้อยู่กับตัวเด็ก ๆ ไปจนโต เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เขาสร้างสรรค์และทำสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมากมายในอนาคต การทำเช่นนั้นได้ เราต้องให้เขาทำสิ่งท้าทายใหม่บ้าง เพราะถ้าทำเพียงสิ่งเดิม เด็กจะอยู่แต่ Comfort Zone ที่คุ้นเคย พลังแห่งการสร้างสรรค์จะไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างที่ดีสำคัญมาก พ่อแม่และผู้ใหญ่รอบตัวเด็ก ๆ ต้องชวนเขาทำสิ่งต่าง ๆ หรือ ออกไปทำสิ่งใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งพิเศษหรือหวือหวา เพราะทุกอย่างสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ได้
เตรียมพื้นที่ และอุปกรณ์ให้เด็ก ๆ เช่น ของเล่นและอุปกรณ์ Freeform (ตัวต่อ เลโก้ หิน ไม้ไอศกรีม กระดาษ ดินน้ำมัน สีต่าง ๆ) แต่ไม่ชี้นำผ่านคำสั่งว่าเขาทำอะไร ให้เด็กสร้างสรรค์การเล่นด้วยตัวเอง
ถ้าเด็ก ๆ คิดไม่ออก หรือ เบื่อ หนังสือนิทานและหนังภาพต่าง ๆ คือแหล่งขุมทรัพย์ในการจุดไฟให้เด็กสร้างสรรค์ ชวนเด็ก ๆ อ่านเรื่องราวที่เขาสนใจ เด็ก ๆ จะนำเรื่องราวไปสานต่อด้วยตัวเอง
❻.เด็กใจร้อน ผู้ใหญ่ยิ่งต้องใจเย็น การที่เด็ก ๆ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็วด้วยความใจร้อน ผู้ใหญ่ไม่ควรไหลตามความรวดเร็วของเด็ก ๆ เราต้องยืนหยัดและช้าลง ด้วยหลักการง่าย ๆ
สุดท้าย เด็กที่รวดเร็วปรู๊ดปร๊าดก็เป็นเด็กคนหนึ่ง เขาต้องการความรักและการยอมรับ ที่สำคัญคือการสอนและฝึกฝนไม่ต่างจากเด็ก ๆ ทั่วไป แต่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเขาและไม่ทำลายสิ่งดี ๆ ในตัวเขา เราเพิ่มเบรกให้เขาด้วยการมอบวินัย ไม่ตามใจเขาในสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเมื่อเราเชื่อมั่นในตัวเขา เด็กจึงพัฒนาเติบโตต่อไปได้
✱ ติดตามข่าวสารและกิจกรรม Thai PBS Kids ได้ทาง Website | Facebook | Youtube | LINE Official ✱