เด็กติดมือถือต้องแลกกับ 7 ทักษะที่หายไป !
โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิต ทั้งละลายพฤติกรรมเดิม ๆ และสร้างค่านิยมใหม่ให้กับผู้คน
ตามทฤษฎีของ Erik Erikson คือ การพัฒนา "ความคิดริเริ่ม (Innitiative)" เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง พวกเขาจะพยายามช่วยเหลือตัวเองให้มาก ที่สุด นอกจากนี้จินตนาการจะเข้ามามีส่วนสำคัญในโลกของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
พลังวิเศษของเด็กวัยนี้คือ "จินตนาการ" ทุกอย่างเป็นไปได้ในความคิดของพวกเขา และพลังเหลือล้นในการเล่นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยเหตุนี้การเล่นจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์และสังคมของเด็กวัยนี้เป็น อย่างมาก ซึ่งการเล่นที่เข้ามามีบทบาทสำคัญของเด็ก ๆ วัยนี้
การเล่นทดลองเพื่อตอบคำถามสิ่งที่เด็ก ๆ อยากรู้ ทั้งนี้การเล่นอิสระควรอยู่ภายใต้กฎ 3 ข้อไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำร้ายตัวเอง และไม่ทำลายข้าวของ
คำถาม “ทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบใส่ชุดเจ้าหญิงและชุดซุปเปอร์ฮีโร่”
คำตอบ : “เมื่อเด็ก ๆ อยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเล่นบทบาทสมมติได้ (Pretend Play) พวกเขาจะอินกับชุดฮีโร่ เจ้าหญิง หน้ากากต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ ตู้เสื้อผ้าของเด็กวัยนี้จึงเต็มไปด้วยชุดเหล่านี้หรือบางบ้านอาจจะมีแค่ชุดเดียว เด็ก ๆ ก็จะใส่แต่ชุดนี้ซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะไปข้างนอก หรืออยู่บ้านก็ตาม เพราะสำหรับพวกเขาเวลาสวมชุดเหล่านี้จิตนาการทำ เด็ก ๆ เชื่อสนิทใจว่าพวกเขามีพลังวิเศษราวกับเป็นตัวละครของชุดเหล่านั้น”
ปล่อยพวกเขาบ้าง หากลูกอยากแต่งชุดเจ้าหญิงไปกินข้าวนอกบ้านหรืออยากจะใส่ชุดซุปเปอร์ฮีโร่ไปเล่นที่สนาม เด็กเล่น เพราะเพียงพริบตาเดียว ความจริงจะเข้ามาเยือนพวกเขาอยู่ดี
“ให้เด็ก ๆ ได้เป็นเด็กอย่างเต็มที่ในเวลาที่พวกเขาเหลืออยู่” ไม่นานหลังจากที่เด็ก ๆ ขึ้นชั้นประถมไป การใส่ชุดเหล่านี้จะค่อย ๆ ลดลง ๆ จนกระทั่งไม่อยากใส่อีก เด็กบางคนถึง ขั้นจำไม่ได้ว่าตัวเองเคยเรียกร้องอยากใส่ชุดเหล่านี้ออกไปจากบ้าน
ในทางตรงกันข้าม หากพ่อแม่ห้ามและสั่งมากกว่าการตั้งคำถามและสอนด้วยเหตุผล หรือ ห้ามไม่ให้ลูกเล่น แต่ บังคับหรือคาดหวังลูกเกินวัย เช่น การอ่านให้ออกอย่างคล่องแคล่ว เขียนให้ตรงบรรทัดเป็นระเบียบ และการสอบ แข่งขันตั้งแต่ปฐมวัย (เด็กวัย 0-6 ปี)
เด็ก ๆ จะไม่สามารถพัฒนาความคิดและการรับรู้ว่า “ความคิดของตนเองเป็นที่ยอมรับ” เพราะพ่อแม่มักตำหนิและ ตัดสินตัวเขาว่า “ถูกหรือผิด” ตลอดเวลาซึ่งสุดท้ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพัฒนาการของเด็กแทนที่จะเป็นความกล้าที่ จะคิดริเริ่ม พวกเขาอาจจะพัฒนาความกลัวผิด (Guilt) ขึ้นมาแทน
เด็ก ๆ ที่กลัวว่าตัวเองจะทำอะไรผิดตลอดเวลา มักจะไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ ๆ หรือจะมีความวิตกกังวลที่สูง ส่งผล ให้พวกเขามักจะรอคอยคำสั่งจากผู้อื่นอยู่เสมอ และที่แย่ไปกว่านั้น คือเด็ก ๆ อาจจะไม่สามารถรับรู้ถึงคุณค่าหรือ ความสามารถของตนเองที่แท้จริง เพราะสิ่งเหล่านี้ถูกลดทอนไปตั้งแต่วันที่ไม่ว่าเขาจะทำอะไร มักจะไม่เคยดีพอ ในสายตาของพ่อแม่ที่เขารัก
...“ได้โปรดอย่าทำลายมนต์วิเศษของเด็ก ๆ ด้วยการบังคับให้พวกเขาโตก่อนวัยอันควร”...
อ้างอิง : Widick, C, Parker, C A, & Knefelkamp, L (1978) Erik Erikson and psychosocial development New directions for student services, 1978(4), 1-17