‘ธรรมชาติ’ ตำราเล่มใหญ่ ที่ไม่มีโรงเรียนไหนสอน
เด็กได้สัมผัสธรรมชาติรอบตัวอย่างเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
1. ตั้งเป้าหมายสำคัญร่วมกันระหว่างพ่อแม่
ว่าอยากให้ลูกได้อะไรจากการไปโรงเรียนอนุบาล เพราะเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่สร้างตัวตนจากต้นแบบ การไปโรงเรียนอนุบาล แปลว่าลูกต้องใช้เวลากับคุณครูและเพื่อนร่วมชั้น นานกว่า 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า คุณครูอนุบาล และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน จะเป็นรากฐานสำคัญในชีวิตของลูกเช่นกัน
เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องตั้งเป้าหมายที่สำคัญที่สุดร่วมกันก่อนว่าอยากได้อะไร จากการส่งลูกไปเข้าเรียนอนุบาล เช่น อยากให้โรงเรียนเตรียมความพร้อมเรื่องเรียน เขียน อ่าน หรือ อยากให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่ อยากให้ลูกได้เล่นกลางแจ้งให้มากที่สุด อยากให้โรงเรียนปลอดภัยใกล้บ้าน รับ - ส่งสะดวก เป็นต้น เพราะเป้าหมายในใจเรา จะเป็นปัจจัยหลักในการเลือกโรงเรียนของลูก จำไว้ว่า ไม่มีโรงเรียนที่ดีที่สุด มีแต่โรงเรียนที่เข้ากับเป้าหมายของครอบครัวเรามากที่สุด
2. จำลองการเดินทางไปส่งลูกที่โรงเรียน
ยุคนี้คงไม่ยาก เพราะเทคโนโลยีช่วยเราได้ลองจำลองเหตุการณ์ ตอนเช้าก่อนออกไปทำงาน ถ้าต้องไปส่งลูกไปโรงเรียน ใช้เวลาเดินทางนานเท่าไร กระทบกับกิจวัตรเรามากน้อยแค่ไหน เราต้องปรับเปลี่ยนเวลาชีวิตมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญ คิดว่าตัวเรากับลูกทนได้หรือไม่กับการเดินทางนั้น
3. ค่าเทอมกับงบประมาณของครอบครัว
เรื่องงบประมาณ เป็นเรื่องสำคัญมาก ลองประเมินว่าเราสามารถจ่ายค่าเทอมลูกได้มากแค่ไหน ซึ่งงบประมาณจะเป็นตัวกำหนดรายชื่อโรงเรียนที่ต้องไปเยี่ยมชมอีกทางหนึ่ง แนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องทุ่มเพื่อให้ลูกได้เรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด แพงที่สุดที่จ่ายไหว แต่ให้ตั้งโจทย์ว่า ลูกเรียนโรงเรียนที่ดี พ่อแม่มีสภาพคล่องทางการเงิน มีเวลาอยู่ด้วยกัน มิใช่ต้องหางานพิเศษเพิ่มเพื่อมาจ่ายค่าเทอมโรงเรียนในฝัน อย่าลืมว่า โรงเรียนดีแค่ไหน ก็ไม่เท่าเวลาที่พ่อแม่ลูกได้อยู่ด้วยกันนะคะ
4. เมื่อไปดูโรงเรียนแล้วต้องพิจารณาอะไรบ้าง ?
ประเมินวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ผู้บริหารคงไม่สามารถออกมาต้อนรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไปเยี่ยมชมโรงเรียนได้ แต่คนที่พาเราไปเยี่ยมชมโรงเรียน เสมือนตัวแทนของผู้บริหาร พวกเขามักจะนำเสนอแง่มุมที่น่าภูมิใจของโรงเรียน ทำให้เราอนุมานได้ว่าโรงเรียนให้ความสำคัญกับอะไร เช่น โรงเรียนแรกภูมิใจนำเสนอห้องคอมพิวเตอร์ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี อีกโรงเรียนเสนอสนามเด็กเล่นที่ร่มรื่นที่เด็ก ๆ จะมาเล่นอิสระได้ตามต้องการ อีกโรงเรียนเสนอหลักสูตรและรางวัลการสอบแข่งขันของนักเรียน เป็นต้น
สังเกตการทำงานของคุณครู เพราะคุณครูคือคนที่จะใกล้ชิดกับลูกของเรามากที่สุด ครูที่เด็กรัก จะถูกล้อมหน้า ล้อมหลังด้วยเด็ก ๆ ตลอดเวลา ดูแววตา ตอนที่คุณครูพูดกับเด็ก สังเกตในห้องเรียน (หากได้ไปสังเกตการณ์) ว่าในการทำงานจริง การแก้ปัญหาของคุณครูในห้องเรียนเป็นอย่างไร
ดูสนามเด็กเล่นว่าสนามเด็กเล่น มีพื้นที่มากพอกับจำนวนนักเรียนหรือไม่ ถ้าไม่กว้างพอโรงเรียนจัดการอย่างไร เช่นให้สลับเวลากัน มีสนามเด็กเล่นสำหรับชั้นอนุบาลโดยเฉพาะหรือไม่(หากเป็นโรงเรียนที่มีหลายช่วงชั้น) ดูเครื่องเล่นว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ บริเวณที่เด็กวิ่งเล่นควรเป็นพื้นสนามหญ้า ถ้าไม่ใช่สนามหญ้าต้องเป็นพื้นยางสำหรับสนามเด็กเล่น การยึดของเครื่องเล่นได้มาตรฐานหรือไม่
5. ดูความยืดหยุ่น และแนวทางการแก้ปัญหาของโรงเรียน
6. การสื่อสารระหว่างครูกับโรงเรียน
และการยอมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้เกียรต และเคารพความเป็นส่วนตัวของคุณครู เช่น ใช้การเขียนบันทึกประจำสัปดาห์เพื่อสื่อสารกัน เป็นต้น
คิดว่าหลักการประเมินโรงเรียนอนุบาล จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนเลือกอนุบาลให้ลูกนะคะ