131
สังเกต 6 พฤติกรรมเด็กเล็ก หลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในครอบครัว

สังเกต 6 พฤติกรรมเด็กเล็ก หลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรงในครอบครัว

โพสต์เมื่อวันที่ : February 28, 2024

 

พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ หรือ หมอแอม กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาสมอง พัฒนาการ และการเรียนรู้ เจ้าของเพจ "เรื่องเด็กๆ by หมอแอม" ให้ความเห็นประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากคนในครอบครัวว่า ปัจจุบันมีให้เห็นบ่อยขึ้น และบางเหตุการณ์พบมี เด็กเล็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงวัยเตาะแตะ อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย ซึ่งผลกระทบของความรุนแรง อาจไม่สร้างเฉพาะบาดแผลที่เกิดขึ้นทางกาย แต่กับบาดแผลทางใจเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ และมีแนวโน้ม อาจส่งผลระยะยาวต่อเด็กในอนาคต

 

 

สังเกต 6 พฤติกรรมเด็กหลังเผชิญเหตุรุนแรง

 

พญ.พรนิภา ยังให้คำแนะนำวิธีการสังเกตพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของเด็ก ที่เผชิญความรุนแรงในครอบครัว เช่น เห็นแม่ถูกทำร้ายหรือเห็นภาพที่กระทบต่อจิตใจ โดยเฉพาะในด็กเล็กอาจสื่อสารไม่ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีสังเกตความเครียด ดังนี้

 

  1. การนอนหลับ ที่เปลี่ยนไป เพราะเด็กที่เครียดหรือวิตกกังวลจะมองไม่ออก จึงสังเกตได้จาก เด็กนอนหลับ ตื่นบ่อยครั้ง หรือฝันร้าย
  2. การกิน ที่เปลี่ยนไป เช่น กินลดลง อะไรที่เคยชอบกลับไม่ชอบ แต่บางคนอาจกินเพิ่มขึ้นในบางคน
  3. การแสดงออกทางอารมณ์ ผิดปกติ เช่น มักมีความวิตกกังวล หวาดกลัว โกรธรุนแรง ผิดไปทางสถานการณ์ที่กำลังเจออยู่ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง ไม่เสถียร
  4. แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่ออยู่กับตัวเอง กับของเล่น หรือกับสัตว์เลี้ยง
  5. เคยชอบ กลับไม่ชอบ เช่น ทำกิจกรรมแล้วเคยชอบแต่กลับไม่ชอบ เด็กที่มีอาการซึมเศร้าจะไม่สามารถชอบในสิ่งที่เคยชอบได้อีกแล้ว
  6. พัฒนาการถดถอย เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญที่สุด ของเด็กที่มีปัญหาที่มีเรื่องกระทบจิตใจ เรียกว่า พัฒนาการถดถอย เคยทำบางอย่างได้แต่กลับทำไม่ได้ เช่น เคยกินข้าวเองได้แต่กลับกินข้าวเองไม่ได้

 

 

การสังเกตพฤติกรรมเด็กข้างต้นอาจเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น พญ.พรนิภา กล่าวว่า หากจะให้ดีแนะนำให้พาเด็กไปพบจิตแพทย์ เพื่อประเมินผลกระทบและรับคำปรึกษา หาวิธีการแก้ปัญหาทางออกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำทั้งวิธีการพูดกับเด็ก หรือ การดูแลต่อจากนี้

 

ผลกระทบพัฒนาการของเด็กในระยะสั้น อาจมีการก้าวร้าว มีปัญหาในการเรียนรู้ หรืออาจจะมีพฤติกรรมกลัวคนแปลกหน้า แปลกแยกจากสังคม ไม่คุ้นเคยกับคนที่ไม่เคยเลี้ยง ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการตามมาได้ ซึ่งคนในครอบครัว จะเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ให้สังเกตสัญญาณเตือน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วหากเข้าเกณฑ์แสดงว่า เด็กเริ่มมีปัญหาทางจิตใจและควรพาไปพบผู้เชียวชาญเพื่อประเมิน

 

สุดท้ายอยากให้มีการผลักดันกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว และส่งเสริมสร้างความเข้าใจ สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม ว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช้เรื่องปกติ หรือ ไม่ใช่เรื่องผัวเมียแล้วไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว และไม่ใช่ผลกระทบแค่คู่ชีวิต เพราะมันอาจกระทบไปถึงอนาคตของเด็กคนหนึ่งด้วย

 



เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง